คนเหล็ก-ปุ๋ยลำไย
ปุ๋ยลำไย

ลำไย” Euphoria Longana Lam. จัดเป็นไม้ผลเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งใ นจังหวัด ภาคเหนือ คือ จังหวัดเชียงใหม่   และจังหวัดลำพูน ถือว่าเป็นพื้นที่ที่ปลูกลำไยดั้งเดิมและสำคัญที่สุดของประเทศโดยมีพื้นที่ ในการปลูกลำไยรวมกันถึงร้อยละ 71   หรือประมาณ 328,329 ไร่ ผลผลิตลำไยในปี 2539-2540 ซึ่งเป็นปี ที่ออกดอกออกผลดี มีปริมาณทั้งสิ้น 135,922 ตัน   คิดเป็นมูลค่า 5,030 ล้านบาท นับว่าเป็นพืชที่ทำรายได้ ให้แก่เกษตรกรมาก ทั้งในรูป

ของผลสด และ ลำไยแปรรูป ตลาดใหญ่ของลำไยสดได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ ส่วนลำไยแห้งทั้งเปลือกนั้นส่งออกไปยังประเทศจีน และหลายประเทศ  จากศักยภาพและความเหมาะสมในการปลูกลำไยของประเทศไทย จึงได้มีการขยายตัวการปลูกลำไย

แต่การจะปลูกให้ลำไยมีผลผลิตที่ดีนั้น แต่มีความรู้ด้านการป้องกันโรคและแมลงศัตรูที่ค่อยทำลายผลผลิตกันก่อนค่ะ วันนี้ทางคนเหล็กมีบทความรู้ 7 วิธีการป้องกันและกำจัดโรคแมลงศัตรูลำไย มาฝากกันค่ะ

ปุ๋ยลำไย

1. โรคพุ่มไม้กวาด (Witches broom)

สาเหตุเกิดจากเชื้อ Mycroplasma

ลักษณะอาการเหมือนพุ่มไม้กวาดลำไยที่เป็นโรครุนแรงจะโทรม     เมื่อออกดอกติดผลน้อยพันธุ์ลำไยที่อ่อนแอต่อโรคนี้เคยพบในพันธุ์เบี้ยวเขียวก้านอ่อน

อาการปรากฎที่ส่วนยอดและส่วนที่เป็นตา โดยเริ่มแรกใบยอดแตกใบออกเป็นฝอย มีลักษณะเหมือนพุ่มไม้กวาด ใบมีขนาดเล็กเรียวยาว ใบแข็งกระด้างไม่คลี่ออก   กลายเป็นกระจุกสั้นๆขึ้นตามส่วนยอด หากยอดที่เป็นโรคเมื่อถึงคราวออกช่อดอก ถ้าไม่รุนแรงก็จะออกช่อชนิดหนึ่งติดใบบนดอกและช่อสั้นๆ ซึ่งอาจติดผลได้ 4-5 ผลถ้าเป็นโรครุนแรงต้นจะออกดอกติดผลน้อย พันธุ์ลำไยที่อ่อนแอต่อนโรคนี้คือพันธุ์เบี้ยวเขียวก้านอ่อน

สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด

สาเหตุเกิดจากเชื้อมายโคพลาสมา (Mycroplasma) แพร่ระบาดได้ทางกรรมพันธุ์คือ สามารถแพร่ระบาดไปโดยการตอนกิ่งลำไยจากต้นที่เป็นโรค โรคนี้มีแมลงพวกเพลี้ยจั๊กจั่นสีน้ำตาลเป็นพาหะนำเชื้อโรคไปสู่ต้นอื่นๆ ได้

การป้องกันและกำจัด

  1. คัดเลือกกิ่งพันธุ์จากต้นที่ไม่เป็นโรคไปปลูก
  2. ป้องกันแมลงจำพวกปากดูดพวกเพลี้ยจั๊กจั่นสีน้ำตาล โดยใช้สารเคมี
  3. สำหรับต้นที่เป็นโรคถ้าเป็นไม่มาก ควรตัดกิ่งที่เป็นโรคนำมาเผาทำลายซึ่งชาวสวนจะต้องพร้อมใจกันและกำจัดทุก ๆ สวน เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่ระบาด
ปุ๋ยลำไย

2. โรคราดำ

การทำลายของแมลงพวกปากดูด เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย แล้วถ่าย น้ำหวานมาปกคลุมส่วนต่างๆ ของลำไย เชื้อราที่มีอยู่ในอากาศโดยเฉพาะเชื้อรา Capnodium ramosum, Meliola euphoriae. จะปลิวมาขึ้นบนส่วนที่มีน้ำหวาน

ลักษณะอาการ
สีดำของเชื้อราขึ้นปกคลุมใบ กิ่ง ช่อดอก และผิวของผล ทำให้เห็นเป็นคราบสีดำคล้ายเขม่า บนใบที่ถูกเคลือบด้วยแผ่นคราบดำของเชื้อรานี้ เมื่อแห้งจะหลุดออกเป็นแผ่นได้ง่าย เชื้อราไม่ได้ทำลายพืช โดยตรงแต่ไปลดการปรุงอาหารของใบ อาการที่ปรากฎที่ช่อดอกถ้าเป็นรุนแรงทำให้ดอกร่วงไม่สามารถผสมเกสรได้ จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ดอกร่วงเพราะถูกเชื้อราดำเข้ามาเคลือบ

สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด
ลักษณะอาการเช่นนี้ เกิดจากผลของการทำลายของแมลงพวกปากดูด ที่ดูดกินส่วนอ่อนของลำไย แล้วถ่ายน้ำหวานมาปกคลุมส่วนต่างๆ ของลำไย เชื้อราที่มีอยู่ในอากาศโดยเฉพาะเชื้อรา จะปลิวมาขึ้นบนส่วนที่มีน้ำหวานที่แมลงขับถ่ายออกมา แล้วเจริญเป็นคราบสีดำ แมลงปากดูดเท่าที่พบ เช่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอยเพลี้ยจั๊กจั่น และเพลี้ยอ่อน เป็นต้น

การป้องกันและกำจัด
ป้องกันและกำจัดแมลงพวกปากดูดดังกล่าว โดยพ่นสารเคมีเช่น คาร์เบนดาซิน Cabendasim 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร อาจพ่น ควบคู่กับสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คลอร์โพริฟอส chlorpyrifos 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

ปุ๋ยลำไย

3. โรคจุดสาหร่ายสนิม

ลักษณะอาการ

ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดที่ใบ เกิดจุดค่อนข้างกลม มีขนาด 0.5 – 1 ซม. แรก ๆ เป็นขุยสีเขียวต่อมาในระยะเกิดสปอร์จะเป็นสีแดงสีสนิมเหล็ก ผิวมีลักษณะเป็นขุยคล้ายกำมะหยี่ เป็นที่ใบไม่รุนแรงมากนัก แต่ความรุนแรงจะปรากฎที่กิ่งโดยเฉพาะถ้าเป็นมากก็จะทำให้ต้นทรุดโทรม กิ่งที่ถูกแสงจะถูกทำลายโดยเกิดเป็นขุยเช่นเดียวกับใบ จะเป็นจุดหรือเกิดต่อเนื่องเป็นขุยสนิมเหล็ก ต่อมาขุยก็จะแห้งหายไป จุดที่ถูกทำลายเปลือกจะแตกและแห้งทำให้ใบเหลืองร่วง แสดงอาการทรุดโทรม ทั้งนี้เป็นเพราะรากเทียมของสาหร่ายเข้าไปชอนไชในเนื้อเยื่อดูดกินน้ำเลี้ยงและเซลล์เน่าตาย ทำให้ส่วนนั้นแห้งตายไป

การแพร่ระบาด

ทำลายพืชได้หลายชนิด ระบาดในที่ ๆ มีความชื้นสูงโดยเฉพาะในฤดูฝน แพร่ระบาดโดยสปอร์จะปลิว ไปตามลมนอกจากนี้ น้ำก็เป็นพาหะนำสปอร์ไปสู่ต้นอื่นได้เช่นเดียวกัน

การป้องกันและกำจัด

โดยการพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราพวกสารประกอบของทองแดง 

ปุ๋ยลำไย

4. มวนลำไย

มวนลำไย หรือที่ชาวบ้านทางภาคเหนือเรียก “แมงแกง” มีชื่อทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำความ เสียหายให้กับลำไยโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก และผลอ่อนทำให้ยอดอ่อนและใบอ่อนแห้งเหี่ยว ดอกเสียหาย ไม่ติดผลหรือทำให้ร่วงหล่นตั้งแต่ยังเล็ก มีการระบาดอยู่ ประจำในแหล่งปลูกลำไยจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูนโดยเฉพาะบริเวณที่ราบลุ่มติดกับแม่น้ำปิง

รูปร่างและชีวประวัติ

ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลปนเหลือง รูปร่างลักษณะคล้ายโล่ มีขนาดยาวประมาณ 25 – 31 ซม. และส่วนกว้างประมาณ 15 – 17 ซม. ตัวเต็มวัยตัวเมียวางไข่เป็นกลุ่มตามใบหรือเรียงตามก้านดอก ไข่กลุ่มหนึ่งจะมีจำนวนโดยเฉลี่ย 14 ฟอง ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อนประมาณ 7 – 14 วัน ตัวอ่อนจะมีสีแดงมีการลอกคราบ 5 ครั้ง ระยะตัวอ่อนกินเวลาประมาณ 61 – 74 จึงจะเจริญออกมาเป็นตัวเต็มวัย

การป้องกันกำจัด

  1. ตัดแต่งกิ่งลำไยไม่ให้ต้นหนาจนเกินไป จนเป็นที่หลบซ่อน และพักอาศัยของตัวเต็มวัย
  2. จับตัวเต็มวัย ตัวอ่อน และไข่ไปทำลาย
  3. ถ้าพบระบาดมากใช้ยาฆ่าแมลง คลอร์โพริฟอส chlorpyrifos 300-400 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน ช่วงเวลาที่ลำไยกำลังเกิดช่อดอกและติดผล ซึ่งช่วงดังกล่าว จะพบทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย สำหรับยาฆ่าแมลงพวกจะใช้ได้ผลดีในระยะที่แมลง เป็นตัวอ่อนในวัย 1 – 2 เท่านั้น ถ้าพ่นในวัยอื่นจะไม่ได้ผล
ปุ๋ยลำไย

5. หนอนเจาะกิ่งและลำต้น

หนอนเจาะกิ่งและลำต้น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zeuzera coffcae Nieten. เกิดจากผีเสื้อที่วางไข่ตามเปลือกของกิ่งแล้วฟักออกมาเป็นตัวหนอนเข้าเจาะกินกิ่งหรือลำต้น จะทำให้กิ่งหรือลำต้นแห้งตาย

รูปร่างและชีวประวัติ

ตัวเต็มวัยของผีเสื้อขนาดเมื่อกางปีกประมาณ 4 ซม. ปีกคู่แรกและคู่หลังมีสีขาวและมีจุดดำทั้งปีกคู่แรก และจุดดำรอบขอบปีกคู่หลัง ผีเสื้อจะวางไข่มีสีเหลืองแดง และจะฟักเป็นตัวหนอนใน 9 – 10 วัน ตัวหนอนมีสีน้ำตาลอ่อนมีจุดดำทั้งตัว พอโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู มีความยาวประมาณ 2 – 8 ซม. จากนั้นจะเข้าดักแด้อยู่ในรอยเจาะ

การป้องกันกำจัด

  1. ตัดส่วนที่ถูกทำลายที่มีตัวหนอนแล้วเผาไฟเสียและจับตัวแก่ที่มาเล่นไฟกลางคืนไปทำลาย
  2. ใช้ยาคลอร์โพริฟอส chlorpyrifos ในอัตรา 300-400 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดเข้าไปตามรูที่มีหนอนแล้วใช้ดินเหนียวอุดไว้
ปุ๋ยลำไย

6. เพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้ง

เพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้ง แมลงจำพวกนี้ทำความเสียหายให้กับต้นลำไยโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ยอดอ่อน ช่อดอก และผล ถ้าระบาดรุนแรงจะทำให้บริเวณที่ถูกทำลายเหี่ยวแห้งไปในที่สุด นอกจากนี้ทั้งเพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้งยังขับของเหลวชนิดหนึ่งออกมา ของเหลวนี้จะเป็นอาหารของมด และเป็นแหล่งอาหารของราดำ เมื่อราดำเกิดขึ้นที่ผลจะทำให้ผลดูสกปรก ราคาผลผลิตจะต่ำ

การป้องกันกำจัด

  1. ตัดส่วนของพืชที่มีเพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้งอาศัยอยู่ไปเผาไฟเสีย
  2. เมื่อพบเพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้งเริ่มระบาด ควรพ่นด้วย คลอร์โพริฟอส chlorpyrifos 300-400 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร พ่นให้ทั่ว 2 – 3 ครั้งห่างกัน 10 วัน

“โรคและศัตรูของลำไยมีหลายชนิดมากกว่าที่กล่าวมาแล้ว จึงต้องพยายามสังเกตให้ดี จะได้หาทางป้องกันกำจัดได้เร็ว  การสุมไฟให้เกิดควันไล่แมลงศัตรู  ควรนำมาใช้บ้างและถ้าจะโรยผงกำมะถันลงไปด้วย ก็จะช่วยไล่ศัตรูได้มากขึ้น  ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิ่งเป็นโรคหรือกิ่งที่แมลงเจาะ อย่าให้สวนรก ทั้งหมดนี้จะช่วยให้สวนปลอดโรคและศัตรูค่ะ”

อ้างอิง http://www.ndoae.doae.go.th/